การใช้งานกาวตะปู มีคุณสมบัติอย่างไร ใช้ติดอะไรได้บ้าง?
หากต้องการซ่อมแซมชั้นวางของ ต้องการติดสิ่งต่างๆ ไว้บนผนัง แต่ไม่อยากเจาะผนัง ไม่อยากตอกตะปูให้ชิ้นงานหรือผนังเกิดความเสียหาย ปัญหาเหล่านี้แก้ไขได้ด้วย “กาวตะปู” ตัวเลือกที่ช่าง หรือ ใครๆ ก็สามารถใช่ได้ ใช้งานง่าย ลดขั้นตอนในการทำงาน ช่วยให้งานเสร็จไวมากขั้น เรามาทำความเข้าใจกาวตะปูให้มากขึ้น เพื่อให้ทุกคนสามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
กาวตะปูคืออะไร?
กาวตะปู หรือ กาวพลังตะปู คือ กาวอเนกประสงค์ ที่ใช้วัสดุต่างๆ ได้แทนการตอกตะปู โดยไม่ต้องทำการเจาะสกรู หรือตอกตะปู ลดเวลาการใช้งาน เหมาะสำหรับงาน DIY หรืองานซ่อมแซม มีคุณสมบัติในการติดแน่น แรงยึดเกาะสูง และแห้งไว นอกจากนั้นยังสามารถยึดเกาะกับวัสดุได้หลากหลายชนิด ใช้งานง่ายสะดวกะปลอดภัยมากขึ้น เป็นกาวอเนกประสงค์ที่ช่างควรมีไว้ติดบ้าน
ประเภทของกาวตะปู
เพื่อให้การใช้งานกาวตะปูมีประสิทธิภาพ เหมาะสมกับการใช้งานมากที่สุด เราควรมาทำความรู้จักกับประเภทของกาวตะปู จะได้เลือกใช้กาวตะปูให้ถูกต้องต่อการใช้งาน โดยกาวตะปูสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท ดังนี้
กาวตะปูสูตรน้ำ
กาวตะปูสูตรน้ำ คือ กาวตะปูที่มีน้ำเป็นส่วนผสม ทำให้กาวไม่มีกลิ่น ไม่ฉุน ไม่แสบตา และไม่แสบจมูก เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เหมาะกับงานตกแต่งภายใน พื้นผิวที่ไม่เรียบ พื้นผิวที่มีรูพรุน พื้นผิวที่ไม่มีความชื้น เช่น ปูน คอนกรีต หิน อิฐ เป็นต้น พื้นผิวควรมีอุณหภูมิไม่เกิน 35 องศาเซลเซียส
กาวตะปูสูตรน้ำมัน
กาวตะปูสูตรน้ำมัน หรือ “โซลเวนท์” เป็นกาวตะปูที่สามารถใช้งานได้หลากหลายพื้นผิวมากกว่ากาวตะปูสูตรน้ำ ไม่ว่าจะเป็น โลหะ ไม้ กระเบื้อง หรือวัสดุอื่นๆ ใช้เวลาในการบ่มตัวเร็ว สามารถยึดติดได้ดี อีกทั้งยังมีความทนทานต่อรังสี UVและสภาวะอากาศ สามารถใช้งานได้ทั้งภายใน และภายนอก ทนความร้อนบนพื้นผิววัสดุได้ถึง 50 องศาเซลเซียส ไม่ควรให้วัสดุที่ใช้มีความชื้น
6 คุณสมบัติของกาวตะปู?
- ติดแน่น มีความสามารถในการยึดติดได้ดี ติดโดยไม่ต้องตอกตะปู หรือเจาะสกรู แรงยึดเกาะสูง ติดแน่น
- แห้งไว ใช้เวลาในการบ่มตัวน้อย ไม่ต้องเสียเวลาในการรอให้กาวแห้ง และสามารถจบงานได้อย่างรวดเร็ว
- ใช้งานง่าย ใช้ยึดติดวัสดุก่อสร้างต่างๆ และงานซ่อมแซม ใช้งานง่าย ใช้งานได้ทั้งภายใน และภายนอก
- รับน้ำหนักได้สูง รับน้ำหนักได้สูง ไม่หลุดล่อนง่าย
- ใช้ได้กับวัสดุหลายประเภท สามารถยึดเกาะวัสดุได้หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นแผ่นไม้ โลหะ กระเบื้องกระจกูเงาคอนกรีต บัวพื้น แผ่นพนัง แผ่นพื้นปูน หรือพื้นผิวที่มีความแข็ง เป็นต้น เพียงแค่ใช้กาวตะปูหลอดเดียวก็สามารถใช้งานได้อย่างอเนกประสงค์
- เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ปลอดภัยต่อการใช้งาน ไม่มีกลิ่น ไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม ทนต่อแสง UV และทนทานทุกสภาพอากาศ
กาวตะปูติดอะไรได้บ้าง?
กาวตะปูมีความสามารถในการยึดเกาะได้กับวัสดุสูงสามารถติดได้กับวัสดุเกือบทุกประเภทเลยทีเดียว เพราะมีความสามารถในการยึดเกาะไม่ว่าจะเป็นวัสดุที่มีความพรุนต่ำ หรือวัสดุที่มีความพรุนสูง เช่น ซีเมนต์ กระเบื้องยาง ไฟเบอร์ซีเมนต์ อิฐ ไม้ หิน กระจก พลาสวูด บัวเชิงผนัง กรอบหน้าต่าง PVC แผ่นเหล็ก หรือพื้นผิวต่างๆ อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่ากาวตะปูจะสามารถติดได้กับวัสดุเกือบทุกประเภท แต่ก็ยังคงต้องคำนึงถึงปัจจัยดังต่อไปนี้
- น้ำหนักของวัสดุ ว่าวัสดุที่เราจะใช้มีน้ำหนักมากน้อยแค่ไหน เพื่อจะได้เลือกใช้กาวตะปูให้เหมาะสมกับการใช้งาน เพื่อประสิทธิภาพและประสิทธิผลของกาวตะปู
- สถานที่ติดตั้ง ควรคำนึงสถานที่ติดตั้งว่าอยู่ที่ใด เป็นภายใน หรือภายนอกอาคาร และมีพื้นผิวอย่างไร เพื่อให้เลือกใช้กาวตะปูให้ถูกประเภทไหน และเหมาะสมกับงาน
- สีของวัสดุ ควรเลือกสีของกาวให้เหมาะกับสีของวัสดุ เพื่อให้เกิความกลมกลืน ช่วยให้งานดูเรียบร้อย และสวยงามมากยิ่งขึ้น
กาวตะปูติดอะไรได้บ้าง?
กาวตะปูมีความสามารถในการยึดเกาะได้กับวัสดุสูงสามารถติดได้กับวัสดุเกือบทุกประเภทเลยทีเดียว เพราะมีความสามารถในการยึดเกาะไม่ว่าจะเป็นวัสดุที่มีความพรุนต่ำ หรือวัสดุที่มีความพรุนสูง เช่น ซีเมนต์ กระเบื้องยาง ไฟเบอร์ซีเมนต์ อิฐ ไม้ หิน กระจก พลาสวูด บัวเชิงผนัง กรอบหน้าต่าง PVC แผ่นเหล็ก หรือพื้นผิวต่างๆ อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่ากาวตะปูจะสามารถติดได้กับวัสดุเกือบทุกประเภท แต่ก็ยังคงต้องคำนึงถึงปัจจัยดังต่อไปนี้
- น้ำหนักของวัสดุ ว่าวัสดุที่เราจะใช้มีน้ำหนักมากน้อยแค่ไหน เพื่อจะได้เลือกใช้กาวตะปูให้เหมาะสมกับการใช้งาน เพื่อประสิทธิภาพและประสิทธิผลของกาวตะปู
- สถานที่ติดตั้ง ควรคำนึงสถานที่ติดตั้งว่าอยู่ที่ใด เป็นภายใน หรือภายนอกอาคาร และมีพื้นผิวอย่างไร เพื่อให้เลือกใช้กาวตะปูให้ถูกประเภทไหน และเหมาะสมกับงาน
- สีของวัสดุ ควรเลือกสีของกาวให้เหมาะกับสีของวัสดุ เพื่อให้เกิความกลมกลืน ช่วยให้งานดูเรียบร้อย และสวยงามมากยิ่งขึ้น
วิธีการใช้งาน
ขั้นตอนที่ 1 ใช้ผ้าเช็ดทำความสะอาดเช็ดพื้นผิวที่อาจมีฝุ่นเกาะ
ขั้นตอนที่ 2 ตัดปากหลอดกาวตะปูด้วยคัตเตอร์
ขั้นตอนที่ 3 ยิงกาวตะปูในบริเวณที่ต้องการ
ขั้นตอนที่ 4 กดวัสดุลงบนพื้นผิวให้แน่น หากวัสดุมีน้ำหนักมากควรใช้อุปกรณ์ช่วยค้ำยัน
ขั้นตอนที่ 5 ทิ้งไว้ให้แห้งประมาณ 25-30 นาที
ข้อแนะนำในการยิงกาวตะปู
- การยิงแบบจุด การยิงแบบจุดเหมาะสำหรับงานที่พื้นผิวที่ไม่เรียบ
- การยิงแบบเส้นตรง การยิงแบบเส้นตรง เหมาะสำหรับงานที่พื้นผิวขนาดเล็กแคบ เช่น บัวเชิงผนัง เป็นต้น
- การยิงแบบซิกแซก การยิงแบบซิกแซก เหมาะสำหรับวัสดุที่มีพื้นผิวกว้าง
Add comment